ประวัติโครงการ

 

ประวัติโครงการ   ใบงาน   ผลการดำเนินงาน    กิจกรรม    บริเวณที่พบ    ข้อมูลพันธุ์ไม้  หน้าแรก

 

 

 

 

 

 

นาย วิชิต   อินนันไชย   ( นายกเบ้)

 มาหา  52 หมู่  4  ต. กล้วยแพะ  อ. เมือง   จ. ลำปาง  52000

 พบเพื่อนเมื่อ  23 ก.ค.  2528

 สิ่งที่ชอบ   ทุกสิ่งทุกอย่าง  

 คติ    คงมีสักวันที่เป็นของเรา

 อยากจะบอกว่าผ่านชีววิทยา  และ  เป็นเด็กลื้อ  

 ปัจจุบัน   เด็กลื้อเหมือนเดิม

 

 

 

 

 

ชื่อ อภิสิทธิ์   ศรีอิ่นแก้ว

ชื่อเล่น   ปุ๋ย   

ที่อยู่ 198 หมู่ 2 ต. กล้วยแพะ อ. เมือง

จ. ลำปาง 52000

ลืมตาดูโลก 30 มิ.ย. 2528

ชอบ  เย็นตาโฟ,สีฟ้า,dog,biology,

badminton,

 ไม่ชอบ  คนโกหก,สีแดง,cat,

 

 

 

 

 

 

 

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

พ.ศ.2503 ทรงพยายามปกป้องยางนา

ในฤดูร้อนเกือบทุกปี พระองค์เสด็จแปรพระราชฐานไปประทับแรม ฌ วังไกลกังวล หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์ ในระยะแรกเสด็จพระราชดำเนินโดยรถไฟต่อมาเสด็จฯ โดยรถยนต์เมื่อเสด็จผ่าน อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี สองข้างทางมีต้นยางขนาดใหญ่ขึ้นอยู่มาก ทรงมีพระราชดำริที่จะสงวนป่าต้นยางนี้ไว้ เป็นสวนสาธารณะด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ แต่ไม่สามารถจัดถวายได้เพราะมีราษฎรเข้ามาทำไร่ทำสวนจำนวนมากจะต้องจ่ายเงินทดแทนในการหาที่ใหม่ในอัตราที่ไม่สามารถจัดได้

พ.ศ. 2504 ป่าสาธิตทดลอง

เมื่อไม่สามารถดำเนินการปกปักต้นยางได้ จึงทรงทดลองปลูกต้นยางเอง โดยเพาะเมล็ดยางที่เก็บจากต้นยางนาในกระถางบนพระตำหนักเปี่ยมสุขวังไกลกังวลหัวหิน และทรงปลูกต้นยางในแปลงทดลองใกล้พระตำหนักเรือนต้นสวนจิตรลดา พร้อมข้าราชบริพารเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2504 จำนวน 1250 ต้น แม้ต้นยางจะสูญสิ้น แต่พันธุกรรมของยางนายังอนุรักษ์ไว้ที่สวนจิตรลดา ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้นำพันธุ์ไม้จากภาคต่าง ๆ มาปลูกในบริเวณที่ประทับสวนจิตรลดาเพื่อเป็นที่ศึกษาพันธุ์ไม้ของนิสิตนักศึกษาแทนที่จะต้องเดินทางไปทั่วประเทศ

พ.ศ. 2528 ทรงใช้เทคโนโลยีเพาะเลี้ยง เนื้อเยื่ออนุรักษ์พืช

ในวันพืชมงคล วันที่ 9 พฤษภาคม 2528 พระองค์พร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดอาคารห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชที่สวนจิตรลดา และทรงมีพระราชกระแสให้อนุรักษ์ต้นขนุนหลังพระตำหนักไพศาลทักษิณ ในพระบรมหาราชวัง นำไปสู่การขยายพันธุ์ต้นไม้ที่มีลักษณะพิเศษ เป็นเอกลักษณ์ของพระราชวังแล้วอนุรักษ์พันธุ์ไม้หลายชนิด ในขณะเดียวกันก็ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาพันธุกรรมของพืช เอกลักษณ์ในสภาวะปลอดเชื้อ ในอุณหภูมิต่ำ เพื่อให้สามารถนำมาใช้ในอนาคตได้จนทำให้เก็บรักษาเนื้อเยื่อขนุนที่อุณหภูมิ -196 องศาเซลเซียส ในไนโตรเจนเหลวมีเนื้อเยื่อขนุนที่รอดชีวิตอยู่ได้ 23 เปอร์เซ็นต์

พ.ศ. 2529 ทรงให้อนุรักษ์พันธุกรรมหวาย

ทรงมีพระราชดำริให้อนุรักษ์และขยายพันธุ์หวายชนิดต่าง ๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเพื่อเตรียมการแก้ปัญหาการขาดแคลนหวายในอนาคต หวายมีคุณค่าทางเศรษฐกิจและเป็นเป้าหมาย คือหวายข้อดำ หวายน้ำผึ้ง หวายตะค้าทอง หวายหอม หวายแดง หวายโป่ง หวายกำพวน หวายงวย และหวายขี้เสี้ยน เมื่อขยายพันธุ์ได้ต้นที่สมบูรณ์ของหวายข้อดำและหวายตะค้าทองแล้ว ก็ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ทำการทดลองปลูกต้นหวายเหล่านั้นในป่ายางนา ใกล้พระตำหนักเรือนต้น สวนจิตรลดา และมีพระราชดำริให้ทดลองปลูกที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานฯจังหวัดสกลนครอีกด้วย

การดำเนินการเกี่ยวกับหวายได้มีการขยายผลไปสู่ความร่วมมือระหว่างโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา สำนักพระราชวัง กับส่วนราชการจังหวัดตรัง จัดทำแปลงขยายพันธุ์หวายขึ้นในพื้นที่ 1000ไร่ ที่ตำบลปะเหลียน อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง เมื่อปี พ.ศ. 2532 และได้น้อมเกล้าฯ ถวายเป็นสวนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งนอกจากจะเป็นสถานที่อนุรักษ์พันธุ์หวายชนิดต่าง ๆ ของประเทศไทยแล้ว ยังได้ใช้เป็นสถานศึกษา วิจัย และขยายพันธุ์หวายเศรษฐกิจเพื่อให้ผลประโยชน์ถึงประชาชนอย่างกว้างขวางด้วย

พ.ศ. 2529 สวนพืชสมุนไพร

ในปี พ.ศ. 2529 นอกจากมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์พันธุ์หวายแล้ว ยังได้จัดทำสวนพืชสมุนไพรขึ้นในโครงการส่วนพระองค์ฯ สวนจิตรลดา เพื่อรวบรวมพืชสมุนไพรมาปลูกเป็นแปลงสาธิตและรวบรวมข้อมูลสรรพคุณ ตลอดจนการนำไปใช้ประโยชน์ กับทั้งให้มีการศึกษาการขยายพันธุ์พืชสมุนไพร โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และเผยแพร่ความรู้ที่ได้สู่ประชาชน

พ.ศ. 2531 ทรงให้พัฒนาพันธุ์ผักโดยการผสมสองชั้น

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2531 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชกระแสกับหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ ให้ดำเนินการการผสมผักสองชั้น (Double Hybridization) ขึ้นในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และในห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชของโครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา ดำเนินการผสมพันธุ์ผักสองชั้นพร้อมกันไปด้วย

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสืบต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

พ.ศ.2535 ทรงเริ่มโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

เมื่อเดือนมิถุนายน พระองค์ทรงมีพระราชดำริกับนายแก้วขวัญ วัชโรทัย เลขานุการพระราชวังและ ผอ.โครงการส่วนพระองค์ ให้ดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ โดยพระราชทานโครงการนี้ให้ฝ่ายวิชาการเป็นผู้ดำเนินการโดยงบประมาณสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริได้สนับสนุนในโครงการนี้โดยจัดสร้างธนาคารพืชพรรณขึ้นในปี2536 เพื่อเก็บรักษาพันธุกรรมพืชที่เป็นเมล็ดและเนื้อเยื่อ และสนับสนุนงบประมาณทุกโครงการ ทรงมีพระราชปรารภ พระราชดำริ และพระราชทานแนวทางการดำเนินงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชฯ กับนายพิศิษฐิ์ วรอุไร และนายพรชัย จุฑามาศ ในพระราชวโรกาสต่างๆ ดังนี้

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 ณ อาคารที่ประทับในสำนักงานชลประทาน เขต 1 ถนนทุ่งโฮเต็ล จ. เชียงใหม่

    ทรงมีพระราชปรารภถึงการเสด็จพระราชดำเนินผ่านไป จ.นนทบุรี ทรงเห็นมีพันธุ์ไม้เก่าอยู่มากมาย เช่น ทุเรียนบางพันธุ์อาจยังคงมีลักษณะดีอยู่ แต่สวนเหล่านี้จะเปลี่ยนสภาพไปจึงทรงห่วงว่าพันธุ์เหล่านี้จะหมดไป

    พระราชทานแนวทางการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชควรอนุรักษ์พันธุ์ที่ไม่ใช่พืชเศรษฐกิจด้วย

    ตามเกาะต่างๆ มีพืชพันธุ์อยู่มากแต่ยังไม่มีผู้สนใจเท่าไรจึงน่าจะมีการสำรวจพืชพรรนตามเกาะด้วย

    พระราชทานแนวทางการสอนและอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชควรใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงามความน่าสนใจของพืชพรรณและเกิดความปิติที่จะทำการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไปการใช้วิธีการสอนการอบรมที่เกิดความรู้สึกกลัวว่าหากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสีย และเกิดอันตรายต่อตนเองจะทำให้เครียด ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อประเทศในระยะยาว

    ทรงมีพระราชดำริให้ทำศูนย์ข้อมูลพันธุกรรมพืช โดยมีโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่แสดงถึงลักษณะของพืชออกมาเป็นภาพสีได้เพื่อสะดวกในการอ้างอิงค้นคว้า

วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2538 ณ โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตากจังหวัดตาก

    พระราชทานแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

    การนำต้นไม้มาปลูกเพิ่มเติมให้เด็กรู้จักนั้น ต้องไม่มีพืชเสพย์ติด

    ควรให้เด็กหัดเขียนตำรา จากสิ่งที่เรียนรู้จากสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

    ควรนำตัวอย่างดิน หิน แร่ มาแสดงในห้องพิพิธภัณฑ์ด้วย เพราะในจังหวัดตากมีหินแร่อยู่มากชนิด

วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ณ เขาเสวยกะปิในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี

    ทรงให้อนุรักษ์ต้นหว้าใหญ่ในบริเวณวังไกลกังวล หัวหิน ซึ่งเข้าใจว่า จะเป็นต้นหว้าที่ขึ้นอยู่ที่นั้นก่อนก่อสร้างวัง

    ทรงให้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดำเนินการอนุรักษ์ พันธุกรรมพืช ที่เกาะละวา จ. พังงา

    ทรงให้ทำการสำรวจขึ้นทะเบียนรหัสต้นพืชที่ขึ้นอยู่เดิมในศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

    ทรงให้วัดพิกัดตำแหน่งของต้นพืชที่ขึ้นทะเบียนไว้

    ทรงให้รวบรวมพันธุกรรมหวายชนิดต่างๆ

    ทรงให้มีการปลูกรักษาพันธุกรรมพืชไว้ในศูนย์ศึกษษการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 ณ อาคารชัยพัฒนา สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร

    ทรงให้หาวิธีดำเนินการให้มีข้อมูลที่จะได้รู้ว่าใครทำอะไรเกี่ยวกับพันธุกรรมพืชของหน่วยงานต่างๆให้สื่อถึงกันในระบบเดียวกันได้

    ทรงให้หาวิธีการที่จะทำให้เด็กสนใจพืชพรรณต่างๆและเกิดความสงสัย ตั้งคำถามกับตนเองเกี่ยวกับพืชพรรณที่สนใจนั้น ซึ่งจะนำไปสู่การศึกษาทดลองค้นคว้าวิจัยอย่างง่ายๆ สำหรับ ร.ร.ที่ไม่มีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ที่ดีนักก็สามารถดำเนินการได้ หากอาจารย์ใน ร.ร.ต่างๆทำได้ดังนี้ ก็จะช่วยให้เด็กเป็นคนฉลาด

วันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา กรุงเทพมหานคร

พระราชทานพระราโชวาทให้คณะกรรมการอำนวยการ คณะกรรมการผู้บริหาร ผู้ร่วมสนองพระราชดำริ และผู้ทูลเกล้าถวายฯ ที่เฝ้าทูลละอองพระบาทในการประชุมประจำปีโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ

-----------------------------------------------------------------------------------------------