ข้อมูลพันธุ์ไม้

ประวัติโครงการ   ใบงาน    ผลการดำเนินงาน    กิจกรรม    บริเวณที่พบ    ข้อมูลพันธุ์ไม้   กลับหน้าแรก         

 

   กระทิง  กากะทิง สารภีแนน สารภีทะเล

   ชื่อวิทยาศาสตร์      Calcphylum  inophylum Linn.   

   ชื่อวงศ์                  GUTTIFERAE  

   ชื่อสามัญ                       -

   ประโยชน์               ไม้ประดับ ให้ร่มเงา ดอกมีกลิ่นหอม

   วัน/เดือน/ปี ที่เก็บ     23 มิถุนายน 2545

   สถานที่เก็บ             โรงเรียนเขลางค์นคร

   ชื่อผู้เก็บ                 นายอุดม  บุญตันบุตร  ม.5/2

 

 

หางนกยูงไทย , ซอมพอ

   ชื่อวิทยาศาสตร์       Caesalpimia  sappan  L.

   ชื่อวงศ์                   LEGUMINOSAE

   ชื่อสามัญ                    -

   ประโยชน์                ไม้ประดับ , เยื่อหุ้มเมล็ดทานได้

   วัน/เดือน/ปี ที่เก็บ     23 มิถุนายน 2545

   สถานที่เก็บ              โรงเรียนเขลางค์นคร

   ชื่อผู้เก็บ                  นายณัฐวัฒน์  กันธายอด   ม.5/2

 

                                                            กรวยป่า (kruai-paa)
Casearia grewiaefolia Vent.
FLACOURTIACEAE
ชื่ออื่น ก้วยขุนหยิง คอแลน ตวย ตวยใหญ่ ตานเสี้ยน ผ่าสาม หมูหัน
        ไม้ยืนต้น ไม่ผลัดใบ ขนาดกลางสูง 8-10 เมตร
ลำต้น เปลา เปลือกสีเทาปนน้ำตาล ใบ เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปไข่ทรงขนาน เนื้อใบหนา หลังใบเกลี้ยงสีเขียวเข้มเป็นมัน ท้องใบมีขนสีเทาอ่อนนุ่ม บางทีไม่พบขน
ดอก เป็นช่อ ออกดอกเดือนมีนาคม-พฤษภาคม ออกเป็นกระจุกตามกิ่ง ดอกเพศผู้และเมีย อยู่ต่างดอกกัน ภายในต้นเดียวกัน ขนาดดอก 0.7-0.8 เซนติเมตร กลีบเลี้ยง 5 กลีบ ด้านนอกมีขน ด้านในเกลี้ยง สีขาวหรือสีเขียวแกมเหลือง ไม่มีกลีบดอก มีเกสรตัวผู้ 8 อัน
ผล กลมรีปลายแหลม 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 2.5-3 เซนติเมตร ผลแก่สีเหลืองแยกได้ 3 พู
เมล็ดมีเยื่อหุ้มสีส้มแดง

นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย
พบขึ้นกระจายทั่วไปตามป่าละเมาะ ป่าเบญจพรรณพบกระจายทั่วไป

ประโยชน์
ด้านสมุนไพร รากแก้ท้องร่วง แก้ตับพิการ แก้ริดสีดวงต่างๆ แก้บิด มูกเลือด เปลือก บำรุงธาตุ บำรุงกำลัง ขับผายลม บำรุงโลหิต แก้อุจจาระร่วง ใบ แก้โรคผิวหนัง ผื่นคัน กลากเกลื้อน หิด มวนสูบแก้ริดสีดวงจมูก โรคติดเชื้อที่เกิดขึ้นในจมูก หุงเป็นน้ำมันทาบาดแผลและ
ผิวหนังติดเชื้อ ดอก แก้ไข้ แก้พิษกาฬ ผล แก้บิดปวดเบ่ง แก้เสมหะเป็นพิษแก้ลงท้อง ฟอกโลหิต แก้เลือดออกตามไรฟัน เมล็ด แก้ริดสีดวงทวาร แก้พยาธิผิวหนัง ใช้เบื่อปลา

????

                                                   ปีป             (Millingtomia hortensis Linn.f.)
ชื่ออื่น         วาชะลอง ก้องกลางดง กาดสะลอง (เหนือ) ปีป (กลาง)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น เป็นไม้ยืนต้น ลำต้นสูง 5-25 เมตร
เปลือก  ขรุขระสีเทา เนื้อหยุ่นๆ ตามกิ่งมีช่องอากาศเป็นจุดๆ
ใบ เป็นใบประกอบแบบขนนก 2-3 ชั้น ใบย่อยรูปไข่แกมรูปหอก ปลายใบแหลม ขอบใบหยักกลมๆ หรือเรียบ โคนใบกลมกว้าง 1.5-3 ซม. ยาว 2.5-6 ซม. มีต่อมขนอยู่ตรงมุมระหว่างเส้นกลางใบและเส้นใบ
ดอก ออกเป็นข่อใหญ่ตั้งตรงยาว 10-40 ซม. มีขนสั้นๆ กลิ่นหอม กลีบรองกลีบดอกโคนเชื่อมติดกันเป็นท่อเล็กยาว 2-4 มม. ปลายแยกเป็นกลีบกลมๆ 5 กลีบ ขอบม้วนออกโคนกลีบเชื่อมติดกัน เป็นท่อเล็กยาว ท่อกว้าง 2 มม. ยาว 6-8 ซม. ปลายท่อบานออกแยกออกเป็น 5 กลีบ เกสรตัวผู้มี 4 อัน ยาว 2 อัน สั้น 2 อัน ติดอยู่ด้านในใกล้ปากท่อดอก อับเรณูมีช่องเดียว ส่วนโคนจงอยเล็กๆ ติดอยู่ เกสรตัวเมีย 1 อันท่อเกสรยาว 8 ซม.
ผล เป็นฝักกว้าง 1.5-1.7 ซม. ยาว 30-35 ซม. ฝักแก่จะแตก
เมล็ด มีจำนวนมาก มีปีก

การขยายพันธุ์ เมล็ด

ฤดูกาลเก็บส่วนขยายพันธุ์ ฤดูร้อน

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในการเจริญเติบโต ปลูกเป็นไม้ประดับ ปลูกตามข้างถนน พบในป่าเบญจพรรณ

การใช้ประโยชน์
ทางอาหาร ยอดอ่อนใบอ่อน นำมาย่างไฟเป็นผักจิ้มรับประทานร่วมกับลาบวัว/ควาย/ปลา ทางยา ดอก สูบแก้ริดสีดวงจมูก บำรุงน้ำดี บำรุงโลหิตบำรุงกำลัง แก้ลม ราก บำรุงปอด แก้วัณโรค แก้ปอดพิการ แก้ไอ แก้เหนื่อยหอบ
ฤดูกาลที่ใช้ประโยชน์ ฤดูฝน

 

                                                                 มะค่าโมง (Ma-khaa-mong)
Afzelia xylocarpa Craib
CAESALPINIACEAE
ชื่ออื่น        มะค่าใหญ่ มะค่าหลวง มะค่า หัวดำ บิง ปิ้น เขง เบง
        ไม้ยืนต้นผลัดใบ
ลำต้น สูงใหญ่ สูง 15-20 เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง ต้นแก่ มีมีปุ่ม ปม
ใบ เป็นใบประกอบรูปขนนก เรียงเวียนสลับใบอ่อนมีขนสั้น อ่อนนุ่ม และหลุดล่วงเมื่อ
ใบแก่
ดอกสีเขียวแกมแดง ดึ่งสีแดงเรื่อ ออกเป็นช่อขนาดใหญ่ ทุกส่วนมีขนปกคลุมบางๆ ก้านดอกย่อยยาว 1 เซนติเมตร มีกลีบรองดอก 4 กลีบ กลีบดอก 1 กลีบ สีแดงเรื่อ รูปร่างแผ่เกือบกลมยาว 7-9 มิลลิเมตร ส่วนฐานดอกเป็นก้านเกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์ มี 7 อัน
ผล เป็นฝักแบนมีเมล็ดอยู่บ้างใน ออกฝักในฤดูฝน ฝักรูปขนานยาว 15-20 เซนติเมตร กว้าง 7-9 เซนติเมตร เปลือกผักแข็งและหนา เมื่อแก่แตกเป็นสองซีกตามยาว เมล็ด สีดำ ผิวมันที่โคนมีเยื่อหนาสีเหลืองหุ้มเป็นรูปถ้วย การขยายพันธุ์ ด้วยเมล็ด

นิเวศวิทยาและการแพร่กระจาย
พบทั่วไปในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ ออกดอกเดือนกุมภาพันธ์ -มีนาคม

ประโยชน์
เนื้อในเมล็ดนำมาต้มน้ำตาลทำเป็นของหวาน ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ รักษาโรคผิวหนัง ทำให้ริดสีดวงทวารแห้ง แก้ฟกช้ำปวดบวม เป็นยาสมานแผล เนื้อไม้มีลวดลายสวย สีน้ำตาลเหลือ มีความแข็งแรง ทนทาน ใช้ทำเครื่องเรือนชั้นดี

 

 สามารถเข้าขอข้อมูลได้จาก www.RSPG.THAIGOV.net

หรือ E-mail :admin@plantgenetics_rspg.org.