กิจกรรม

ประวัติโครงการ   ใบงาน    ผลการดำเนินงาน    กิจกรรม    บริเวณที่พบ    ข้อมูลพันธุ์ไม้  กลับหน้าแรก

 

เรามาเรียนรู้ พันธุ์ไม้ ในโรงเรียนกันเถอะ

         โรงเรียนเขลางค์นคร เป็นโรงเรียนที่ได้รับการยอมรับจากภายนอกว่า เป็นโรงเรียนที่มีภูมิทัศน์ และสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม โรงเรียนหนึ่ง มีพรรณไม้หลากหลาย ร่มรื่น ถ้าได้จัดเป็นอุทยานทางการศึกษา เกี่ยวกับพันธุ์ไม้ ก็นับว่าเป็นประโยชน์ต่อนักเรียนและชุมชน และท้องถิ่นของเราเป็นอย่างยิ่ง  พันธุ์ไม้ที่พบในโรงเรียนเขลางค์นคร  ซึ่งเป็นพันธุ์ไม้ที่มีอยู่เดิม และเป็นพันธุ์ไม้ที่นำมาปลูก เช่น  ไม้ยืนต้น ไม้ดอก ไม้ประดับ  พืชสมุนไพร  ไม้อวบน้ำ  พันธุ์ปาล์ม  พันธุ์กล้วย  พันธุ์ไม้ในวรรณคดี   พันธุ์ไม้ท้องถิ่น เป็นต้น

        เพื่อให้นักเรียนได้เกิดจิตสำนึก เห็นคุณค่า ประโยชน์ที่ได้จากพันธุ์ไม้ และรู้สึกหวงแหนพันธุ์ไม้ ซึ่งเป๋นสมบัติของพวกเราชาวเขลางค์นครทุกคน ของชุมชน และประเทศชาติ และเพื่อให้นักเรียนใช้เป็นแหล่งเรียนรู้บูรณาการรายวิชา ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อตัวนักเรียน ชุมชนของนักเรียนและประเทศชาติต่อไป

         ดังนั้นโรงเรียนจึงได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี  เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2544

 

         เราจงมาร่วมกันทำกิจกรรมดังนี้

9. นักเรียนทุกคนเลือกเป็นเจ้าของต้นไม้ คนละ 1 ต้น (บริเวณที่นักเรียนรับผิดชอบทำความสะอาดในบริเวณโรงเรียน ไม่ว่าจะเป็นไม้ยืนต้น ไม้พุ่ม ไม้เลื้อย ฯลฯ เพื่อความสะดวกในการศึกษาและสังเกตต้นไม้)

9. ระบุรหัสพันธุ์ไม้ (ป้ายสีน้ำเงิน) ที่นักเรียนเลือก (ถ้าไม่มีป้ายรหัสติดไว้ที่ต้นไม้ ให้ระบุชื่อต้นไม้ ) บันทึกลงในท้ายชื่อของนักเรียนแต่ละคน ไว้ในใบรายชื่อของแต่ละห้อง

9. หัวหน้าห้องรวบรวมรายชื่อ ที่ระบุรหัสต้นไม้แล้วของแต่ละห้อง ส่งที่ห้องแผนงานในวันที่ 21 ธันวาคม 2544

9. วันที่   28    ธันวาคม 2544 ลดคาบเรียนคาบละ 5 นาที เพื่อให้นักเรียนทุกคน ใช้คาบเรียนที่ 1 เป็นคาบศึกษาพันธุ์ไม้ที่นักเรียนเลือกไว้  (เวลา 8.30 น.-9.15 น.) โดยหลังจากเข้าแถวเคารพธงชาติให้หัวหน้าห้องมารับแจกเอกสารการบันทึกข้อมูลพันธุ์ไม้ที่หน้าแถว และนำไปแจกให้นักเรียนในห้องของตนเพื่อนำไปศึกษาพันธุ์ไม้ในบริเวณที่รับผิดชอบทำความสะอาด (อาจารย์ที่ปรึกษาช่วยดูแลให้คำปรึกษานักเรียน)

9. ในช่วงเวลาที่นักเรียนทำการศึกษาพันธุ์ไม้  ที่ห้องประชาสัมพันธ์ จะมีคณะกรรมการสวนพฤกษศาสตร์(นักเรียน) มาอธิบายการบันทึกข้อมูลพันธุ์ไม้ ออกอากาศให้รับทราบทั่วกันด้วย

9. เวลา 9.15 น เป็นการสิ้นสุดกิจกรรมในวันนั้น  (แต่ข้อมูลพันธุ์ไม้คงยังไม่สมบูรณ์)  ให้นักเรียนรวบรวม

เอกสารเก็บไว้ที่หัวหน้าห้อง ให้หัวหน้าห้องรวบรวมเอกสารฝากไว้ที่อาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อที่จะได้นำไปศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ในส่วนที่ยังไม่ได้บันทึก  โดยนักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากเอกสารค้นคว้าได้ที่ ห้องสมุด    มุมสวนพฤกษศาสตร์ที่ห้องแผนงานสารสนเทศ (อาคาร 6 )  และที่ห้องศูนย์วิชาเกษตรกรรม     อินเตอร์เน็ต  หรือแหล่งค้นคว้านอกโรงเรียน

9. เมื่อนักเรียนหาข้อมูลพันธุ์ไม้ได้บางส่วนแล้ว ให้จัดทำป้ายชื่อพันธุ์ไม้ (โดยใช้วัสดุเหลือใช้ เช่น ขวดน้ำ

      พลาสติกสีขาวขุ่น ตัดเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม ซึ่งอาจโค้งตามรูปขวด) เขียนข้อความด้วยปากกาเขียนแผ่นใส

      หลังจากนั้นติดป้ายชื่อต้นไม้ โดยใช้เส้นเอ็นหรือ ลวดเส้นเล็ก ผูกติดต้นไม้พอหลวม(ป้ายชื่อชั่วคราว)

9. ทุกวันในตอนเช้า  ขณะที่นักเรียนทำความสะอาดบริเวณที่รับผิดชอบ ให้นักเรียนสังเกตการเปลี่ยนแปลงของต้นไม้ที่นักเรียนเลือกศึกษา  นำใบ รวมก้านใบ  ดอก (ถ้ามี) มาเก็บแห้ง โดยนำใบพร้อมก้านใบ และดอก(ถ้ามี) มาทับด้วยหนังสือ/หนังสือพิมพ์ที่ใช้แล้ว ผึ่งไว้ให้แห้ง พร้อมเป็นตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้งไว้เพื่อการศึกษาต่อไป และส่งพันธุ์ไม้แห้งไดที่ห้องแผนงานประชุมงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  ครั้งที่ 1 /2/2544

9 มกราคม  2545

ณ ห้องศูนย์วิชาการ

ประธานการประชุม       ผอ. จุรีย์   สร้อยเพชร

ผู้เข้าร่วมประชุม    อาจารย์ คณะกรรมการ จำนวน   8 คน

                           หัวหน้าหมวดวิชา           จำนวน  9 คน

เริ่มประชุมเวลา 13.30 น.

วาระที่ 1  ประธานชี้แจง ความสำคัญและการเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช  ว่าเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ  ควรทำอย่างจริงจัง