ผลการดำเนินงาน

ประวัติโครงการ    ใบงาน    ผลการดำเนินงาน    กิจกรรม    บริเวณที่พบ    ข้อมูลพันธุ์ไม้  กลับหน้าแรก

โครงการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน   (   )ใหม่  ( / )ต่อเนื่อง

สนองยุทธศาสตร์ข้อที่ 3

แผนงานที่ 4

ส่งผลถึงมาตรฐานผลผลิตที่ 3 ตัวชี้วัดที่ 1-2

 

หลักการและเหตุผล

ตามที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  ทรงมีพระราชดำริบางประการเกี่ยวกับ

การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ไว้ดังนี้

    “ การสอนและการอบรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการอนุรักษ์พืชพรรณนั้น ควรใช้วิธีการปลูกฝังให้เด็กเห็นความงดงาม ความน่าสนใจ และเกิดความปิติที่จะทำการศึกษาและอนุรักษ์พืชพรรณต่อไป การใช้วิธีการสอนการอบรมที่ให้เกิดความรู้สึกกลัวว่า หากไม่อนุรักษ์แล้วจะเกิดผลเสีย เกิดอันตรายแก่ตนเอง จะทำให้เด็กเกิดความเครียด ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อประเทศในระยะยาว”

    โครงการอนุรักษ์พันธูกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ ได้จัดทำโครงการ”สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน” เพื่อสนองพระราชดำริและเป็นสื่อให้เยาวชนได้ใกล้ชิดกับพรรณไม้ เห็นคุณค่า ประโยชน์และความสวยงาม อันก่อให้เกิดความคิดที่จะอนุรักษ์พันธุกรรมพืชต่อไป

     โรงเรียนเขลางค์นคร ซึ่งมีเนื้อที่มาก มีต้นไม้ที่หลากหลายจากไม้ป่าที่มีอยู่เดิม และมีเนื้อที่ในการปลูกพรรณไม้ขึ้นมาใหม่หลากหลายชนิด มีศักยภาพในการเป็นแหล่งเรียนรู้ทางธรรมชาติด้านพันธุ์ไม้ได้เป็นอย่างดี โรงเรียนจึงเข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงการ สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

 

วัตถุประสงค์

1. เพื่อสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พันธุ์ไม้ให้เกิดขึ้นในตัวนักเรียน บุคลากรในโรงเรียน

2. เพื่อเป็นแหล่งรวบรวมตัวอย่างพรรณไม้ ข้อมูลพันธุ์ไม้ ที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษาและการเผยแพร่ต่อชุมชน

3. เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ แหล่งบูรณาการการเรียนการสอนวิชาต่าง ๆ

เป้าหมาย

เชิงปริมาณ   สร้างจิตสำนึกให้เกิดขึ้นกับนักเรียน 2,500 คน

                    บูรณาการการเรียนการสอน ทุกหมวดวิชา

เชิงคุณภาพ  บุคลากร นักเรียน มีความตระหนัก และร่วมกันอนุรักษ์พันธุกรรมพืช

สถานที่ดำเนินการ    โรงเรียนเขลางค์นคร  อำเภอเมือง  จังหวัดลำปาง

ระยะเวลาดำเนินการ    พฤษภาคม 2544-มีนาคม 2545

 

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

             นางกาญจนา พรหมบุรี ผู้ประสานงาน

 

หน่วยงานที่เกี่ยวของ

             ฝ่ายวิชาการ    หัวหน้าหมวดวิชา    คณะกรรมการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

             ฝ่ายบิการ

 

การติดตามประเมินผล

1. การสังเกต ความร่วมมือของผู้เกี่ยวข้อง

2. ผลงานบูรณาการของหมวดวิชา

 

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. นักเรียน บุคลากรในสถานศึกษา มีความตระหนักในการอนุรักษ์พันธุ์ไม้

2. ได้รับความร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้อง

3. เกิดบูรณาการทางวิชาการในหมวดวิชาต่าง  ๆ

4. เกิดผลงานนักเรียน

รายงานการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

โรงเรียนเขลางค์นคร  อำเภอเมือง  จังหวัดลำปาง

ระยะเวลาในการประเมินผล           2  พฤศจิกายน 2543-19 พฤศจิกายน 2544

การดำเนินงาน

การจัดทำแผนและโครงการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

1.1 มีแผน/โครงการ การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

1.2 มีคำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบเป็นลายลักษณ์อักษร  คำสั่งเลขที่ 303/2543

      ลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2543 (อยู่ในระหว่างการปรับคำสั่งแต่งตั้งเพิ่มเติม)

                         ประกอบด้วยอาจารย์ที่ปรึกษา และนักเรียน รับผิดชอบในฝ่ายต่าง ๆ  ดังนี้

1. ฝ่ายสำรวจ จัดทำทะเบียนพันธุ์ไม้และ จัดทำผังพันธุ์ไม้

2. ฝ่ายจัดทำป้ายชื่อพันธุ์ไม้ รวบรวมเอกสารพรรณไม้ จัดแหล่งมุมค้นคว้า

3. ฝ่ายรวบรวมพันธุ์ไม้แห้ง จัดเก็บ จัดแหล่งศึกษาค้นคว้าพันธุ์ไม้แห้ง

4. ฝ่ายประชาสัมพันธ์ จัดทำเอกสารเผยแพร่ รายงานและเผยแพร่ผลงาน

5. ฝ่ายบูรณาการรายวิชา  ติดตามผลการดำเนินงานทุกฝ่าย

6. ฝ่ายรวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่น/รวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่นมาปลูกเพิ่ม

1.3 มีการประสานงานกับหน่วยงานภายนอกโรงเรียน/คณะกรรมการสถานศึกษา/ชุมชน

โดยขอความร่วมมือ มาเป็นวิทยากรที่ปรึกษา ให้ข้อเสนอแนะ คือ นักวิชาการป่าไม้เขตลำปาง จำนวน 3 คน

1.4 มีการประชุม ชี้แจง รับคำแนะนำ ให้กับคณะกรรมการ นักเรียน อาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อ  ทราบวัตถุประสงค์และการดำเนินการ  และแจกเอกสารประกอบ

2. การสำรวจพรรณไม้ในพื้นที่ของโรงเรียน (พื้นที่ทั้งหมด 251 ไร่)

2.1 ทำการสำรวจพรรณไม้ในพื้นที่ 251 ไร่ เฉพาะไม้ยืนต้น มีจำนวนทั้งสิ้น 72  ชนิด

1400 ต้น (ที่เหลืออยู่ในระหว่างการสำรวจเพิ่มเติม)

2.2 จัดทำบัญชีรายชื่อแล้ว    40     ชนิด

2.3 จัดทำผังระบุตำแหน่งพืชแล้วจำนวน     40      ชนิด

3. การติดป้ายชื่อและข้อมูลพันธุ์ไม้

3.1 กำลังอยู่ในระหว่างดำเนินการจัดทำป้ายชื่อท้องถิ่น/ข้อมูลท้องถิ่นและข้อมูลทางพฤกษ

ศาสตร์

 

4. การจัดทำพันธุ์ไม้แห้งแบบมาตรฐานของพรรณไม้ต่าง ๆ ในโรงเรียน

ยังไม่ได้ดำเนินการ

5. การจัดทำสมุดบันทึกข้อมูลพรรณไม้ของพันธุ์ไม้ทุกชนิด

5.1 นักเรียนทุกคน(2,500 คน) จัดทำสมุดบันทึกข้อมูลพรรณไม้ แต่ยังได้ข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์

6. การนำสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนไปใช้ในการเรียนการสอนและกิจกรรมต่าง ๆ

6.1 มีการนำมาใช้ในการเรียนการสอน   7  หมวดวิชา   2 ระดับชั้น

คือ หมวดวิชา วิทยาศาสตร์         หมวดวิชาคหกรรม       หมวดวิชาศิลปศึกษา    

หมวดวิชาภาษาไทย       หมวดวิชาภาษาอังกฤษ   หมวดวิชาเกษตรกรรม   คณิตศาสตร์

นำมาใช้ในระดับชั้น ม. 1 ถึง ม. 6

6.2 นำสวนพฤกษศาสตร์ไปใช้ในกิจกรรมชุมนุม

ชุมนุม พันธุ์ไม้ในวรรณคดี

ชุมนุม พืชสมุนไพร

กิจกรรม ปลูกวันแม่เกี่ยววันพ่อ

กิจกรรม หารายได้ระหว่างเรียน พืชกระบองเพชร  พืชพันธุ์เฮลิโคเนีย

7. การเขียนรายงาน

7.1 นักเรียนทุกคนมีสมุดบันทึกข้อมูลพันธุ์ไม้ ซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการ ยังไม่สมบูรณ์

8. การจัดทำมุมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

8.1 จัดมุมสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนในห้องแผนงานสารสนเทศ  ห้องสมุด  ศูนย์หมวดวิชาเกษตรกรรม

8.2 มีหนังสือ เอกสาร ที่เกี่ยวกับโครงการฯ สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จำนวน  48 เล่ม

8.3 ได้เผยแพร่ความรู้เรื่อง สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  ในวารสารกาแล 1 ครั้ง

9. การรวบรวมพันธุ์ไม้ท้องถิ่น ที่น่าสนใจ

9.1 มีการสำรวจและศึกษาพันธุ์ไม้ท้องถิ่นที่น่าสนใจ  6 ชนิด (พันธุ์ไม้เมืองเหนือที่นิยมรับประทานเป็นอาหาร  เช่น สะแล   นางแลว   เซียงดา   แซ่ว   จี๋กุ๊ก   สาคู)

9.2 มีพรรณไม้ท้องถิ่นปลูกไว้  จำนวน  12 ชนิด

10. การจัดทำฐานข้อมูลพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

10.1 ได้จัดทำฐานข้อมูลพรรณไม้ ในสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน  

                      

    พันธุ์ไม้ที่หายากในโรงเรียน

1. ซอมพอ (หางนกยูงไทย)   Caesalpinia  pulcherrima (L.) Sw.  วงศ์  LEGUMINOSAE

2. โสกน้ำ   Saraca  indica  L.     วงศ์  LECUMINOSAE

 

แผนการดำเนินงาน สวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน

การนำไปใช้ประโยชน์ ในการเรียนการสอน

 

รายวิชา ผู้สอน  รายวิชา/ชั้น    กิจกรรม ชิ้นงาน

วิชาวิทยาศาสตร์                         

                                

วิชาคณิตศาสตร์                          

                                

วิชาภาษาไทย                             

                                

วิชาสังคมศึกษา                          

                                

วิชาภาษาต่างประเทศ                              

                                

วิชาพลานามัย                            

                                

วิชาศิลปศึกษา                           

                                

วิชาเกษตรกรรม                           

                                

วิชาคหกรรม                              

                                

วิชาพาณิชยกรรม                          

                                

วิชาช่างอุตสาหกรรม                              

                                

วิชาคอมพิวเตอร์